วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

โรครากเน่า โคนเน่าใน มะละกอ

โรครากเน่าโคนเน่าในการปลูกมะละกอให้ทราบกัน โดยปกติแล้วมะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้ โดยประโยชน์ของมะละกอนั้นคือ นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม เป็นต้น หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้ โดยผู้ที่ปลูกไว้เพื่อการค้านั้นจะประสบกับปัญหาของโรครากเน่าโคนเน่ากันมากสาเหตุก็เพราะปลูกกันมานานซ้ำๆที่เดิมๆจึงเป็นแหล่งเชื้อราของโรครากเน่าโคนเน่านั่นเอง โดยโรครากเน่าและโคนเน่านั้นเกิดจากเชื้อรา Pythium aphanidermatum และ Phytophthora palmivora เกิดได้ทุกระยะการเจริญของมะละกอ ในระยะกล้า จะเกิดอาการเน่าคอดิน คือรากเน่า ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองต้นมักจะหักพับตรงโคนและเหี่ยวตายอย่างรวดเร็ว สำหรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโคนเน่า เป็นสีน้ำตาลถึงดำ ลักษณะฉ่ำน้ำ เนื้อเยื่อบริเวณที่เน่าจะยุบตัวลงเล็กน้อย ต่อมารากจะเน่า ใบจะเหลืองและร่วงหล่น ทำให้ยืนต้นตายไปภายใน 2-3วัน โดยเชื้อรานี้สมารถระบาดไปกับดินและน้ำ โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกชุกในช่วงนี้ เกษตรกรผู้ที่ปลูกมะละกออยู่ตอนนี้ก็ต้องหมั่นดูแลเรื่องดินอย่าให้น้ำขังและดินจะต้องร่วยซุยระบายน้ำดีก็จะลดการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้ระดับหนึ่งครับ

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดกับสวนมะละกอของผู้เขียนเองครับ โดยมีพื้นที่อยู่บางส่วนที่เป็นที่ลุ่มมักจะมีน้ำขังเวลาฝนตกหนัก ๆ จะทำให้มะละกอ ใบเหลือง เพราะรากมะละกอขาดออกซิเจน แต่ไม่ถึงกับตาย เมื่อน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ๆ ทำให้มะละกอต้องทิ้งใบเป็นจำนวนมากเพื่อรักษาตัวเองไว้ และเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ที่มีปัญหาหลัก ๆ เลยก็คือ เชื้อราไฟธ็อปทอรา เข้าทำลายระบบราก ทำให้รากมะละกอ เน่าและเปื่อยยุ่ย ผู้เขียนจึงแก้ไขโดยใช้ไตรโคเดอร์ม่า 2 กิโลกรัม ผสมกับพูมิช-ซัลเฟอร์ 1 กระสอบ (20 กิโลกรัม) แล้วนำไปโรยรอบโคนต้นมะละกอที่เป็นโรค อัตราต้นละ 1 กำมือ จากนั้นก็นำไตรโคเดอร์ม่ามาหมัก โดยใช้น้ำ 20 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร ไตรโคเดอร์ม่า 2 ช้อนแกง หมักไว้ 8 ชั่วโมง หลังจากหมัก 8 ชั่วโมงแล้ว ก็นำไตรโคเดอร์ม่าที่หมักไว้ มาผสมน้ำอีก 180 ลิตร รวมเป็น 200 ลิตรใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วย 5 ลิตร แล้วนำไปฉีดที่โคนต้นมะละกอให้ชุ่ม  เพื่อกำจัดเชื้อราไฟธ็อปทอราในโคนต้นมะละกอให้หมดไป
หลังจากนั้น 7 วันก็รักษาโดยใช้วิธีเดียวกันนี้อีกครั้ง เมื่อครบ 7 วันที่หลังจากใส่พูมิช-ซัลเฟอร์ และไตรโคเดอร์ม่า จะพบว่ามีรากมะละกอขนาดเล็กจำนวนมากที่เกิดใหม่บริเวณโคนต้นมะละกอรวมทั้งแผลที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราไฟธ็อปทอรา ก็หายเป็นปกติ สำหรับต้นที่อาการหนัก ๆ ถึงขั้นใบกุด หรือใบไม่มีแล้วก็จะแตกยอดอ่อนขึ้นมา และจะแตกรากใหม่ประมาณ 2 สัปดาห์ และให้ทำเหมือนวิธีข้างต้นนี้ จำนวน 3 ครั้งเว้นระยะห่างกันแต่ละครั้ง ๆ ละ 7 วัน ก็จะสามารถควบคุมโรครากเน่าในมะละกอได้แล้วครับ
วิธีการป้องกัน
ถ้ามีฝนตกติดต่อกันหลายวันก็ให้ใช้วิธีที่ผู้เขียนได้กล่าวมาข้างต้นนี้ได้เลยครับ รับรองว่ามะละกอจะไม่เหี่ยวจะไม่มีปัญหาเรื่องโรครากเน่าโคนเน่ามากวนใจอีกต่อไปครับ เห็นไหมล่ะครับว่า ทุกปัญหามีทางแก้ไขและก็ต้องแก้ให้ถูกต้องแล้วก็ถูกวิธีด้วยครับ ผู้เขียนมีภาพการรักษาโรครากเน่าโคนเน่าในมะละกอนะครับ

papaya1_20101011.gif
ภาพการใส่พูมิช-ซัลเฟอร์ร่วมกับไตรโคเดอร์ม่า
papaya2_20101011.gif

ภาพการฉีดสเปรย์เชื้อราโตรโคเดอร์ม่าที่หมัก โดยฉีดใส่โคนมะละกอให้ชุ่มมากที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก
เขียนและรายงานโดย นายนิรุธ อาศัย (นักวิชาการ)
 ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 081-6929660 (นิรุธ อาศัย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น